เทคโนโลยี (Tecnology)
เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ
เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับลักษณะของเทคโนโลยี
สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือ
ความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
เทคโนโลยีชีวภาพ
ตัวอย่าง เช่น ปัจจุบันเราสามารถใส่ลักษณะพิเศษทางพันธุกรรมเข้าไปในพืชหรือสัตว์ ทำให้ได้พืชที่สามารถ ต้านทานแมลงที่เป็นศัตรูของมันได้ หรือ สัตว์ที่ผลิตวัคซีนในน้ำนมของมันได้ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตนี้เรียกว่า พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) ทั้งหมดทำได้โดยการตัดต่อยีน
ที่มาhttp://www.oknation.net/blog/kang1989/2008/06/30/entry-3
สารสนเทศ (information)
เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ
สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี
ตัวอย่าง เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกันอย่างมีระบบ ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (Information technology หรือ IT)
หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่าง ๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
ตัวอย่าง เช่น ระบบเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร และเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki / http://www.ns.ac.th/course/webit/lesson1/lesson1_33.htm
ข้อมูล (Data)
หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่
ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะ ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะ ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ
เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไป
ห้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหตือตอบ
ปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ใน
รูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ตัวอย่าง เช่น ข้อมูลที่เราพบเห็นทุกวันนี้ มีหลายรูปแบบ เช่นเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียงต่าง ๆ เราสามารถรับรู้ข้อมูลได้จากส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1.การรับรู้ข้อมูลทางตา ได้แก่ การมองเห็น เช่นข้อมูลภาพ จากหนังสือ โทรทัศน์ เป็นต้น
2.การรับรู้ทางหู ได้แก่ การได้ยินเสียงผ่านเข้ามาทางหู เช่น ข้อมูลเสียงเพลง เสียงพูด เสียงรถ เป็นต้น
3.การรับรู้ทางมือ ได้แก่ การสัมผัสกับข้อมูล เช่น การจับเสื้อผ้าแล้วรู้สึกว่านุ่ม เป็นเนื้อผ้าเป็นต้น
4.การรับรู้ทางจมูก ได้แก่ การได้กลิ่น เช่น หอมกลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ กลิ่นขยะ เป็นต้น
5.การรับรู้ทางปาก ได้แก่ การรู้สึกถึงรส โดยการสัมผัสทางลิ้น เช่น เผ็ด หวาน ขม เป็นต้น
ที่มาhttp://blog.eduzones.com/jipatar/85845
ฐานความรู้ (knowledge base)
คือการรวบศูนย์การจัดเก็บสารสนเทศ เช่น ห้องสมุดสาธารณะ ฐานข้อมูลของสารสนเทศที่สัมพันธ์กับหัวข้อเฉพาะ ในความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีสารสนเทศ ฐานความรู้เป็นแหล่งที่เครื่องสามารถอ่านได้สำหรับการกระจายสารสนเทศ โดยทั่วไปการออนไลน์หรือความสามารถทำให้ออนไลน์ สวนประกอบบูรณาการของระบบการจัดการความรู้ (knowledge management) ฐานความรู้ได้รับการใช้รวมสารสนเทศ จัดโครงสร้าง และดึงสำหรับองค์กร หรือสาธารณะทั่วไป
ฐานความรู้ที่ได้รับการได้ดีสามารถประหยัดเงินของวิสาหกิจโดยการลดเวลาของลูกจ้างในการค้นหาสารสนเทศ เช่น กฎหมายภาษี นโยบายบริษัท และขั้นตอนทำงาน เครื่องมือจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (customer relationship management หรือ CRM) ฐานความรู้สามารถให้ลูกค้าเข้าถึงสารสนเทศได้ง่าย ในกรณีอื่นต้องติต่อกับเจ้าหน้าที่ขององค์กร ตามกฎ ความสามารถนี้ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ง่ายขึ้นสำหรับทั้งลูกค้าและองค์กร โปรแกรมประยุกต์จำนวนหนึ่งให้ผู้ใช้สร้างบานข้อความรู้ของตัวเอง ทั้งการแยกต่างหาก (เรียกว่า knowledge management software) หรือเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกมประยุกต์อื่น เช่น แพ็คเกจ CRM
โดยทั่วไป ฐานความรู้ไม่ใช่การรวบรวมสารสนเทศแบบสถิตย์ แต่ทรัพยากรพลวัตรที่อาจจะมีความสามารถในการเรียนรู้ได้เอง ตัวอย่าง เป็นส่วนของ artificial intelligence (AI) expert system ตามรายงานของ World Wide Web Consortium (W3C) ในอนาคตอินเตอร์เน็ตจะกลายเป็นฐานความรู้ระดับโกลบัลขนาดใหญ่และซับซ้อนที่เรียกว่า Semantic Web
ที่มาhttp://www.com5dow.com
2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ระบบสารสนเทศส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างคล้ายรูปทรงปิระมิด คือ มีฐานกว้าง ยอดเป็น
มุมแหลม ซึ่งหมายถึงขอบเขตความกว้างขวางของปริมาณข้อมูลที่มีมากในระดับล่าง และลดหลั่น
ลงไปเมื่อถึงยอด แบ่งออกเป็น 4 ระดับชั้น โดยแต่ละระดับมีลักษณะดังนี้
มุมแหลม ซึ่งหมายถึงขอบเขตความกว้างขวางของปริมาณข้อมูลที่มีมากในระดับล่าง และลดหลั่น
ลงไปเมื่อถึงยอด แบ่งออกเป็น 4 ระดับชั้น โดยแต่ละระดับมีลักษณะดังนี้
1. ระดับล่างสุดหรือ (Transaction Processing) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลรายการต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลเป็นจำนวนมาก ๆ ในการทำงานประจำวัน จัดว่าเป็นพื้นฐานของระบบสารสนเทศในการที่จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ สำหรับสร้างหรือจัดรูปแบบใหม่
ในรูปของรายงานที่จะเสนอระดับสูงต่อไป
ในรูปของรายงานที่จะเสนอระดับสูงต่อไป
2. ระดับที่สอง (Operation Control) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับ
ผู้บริหารระดับล่าง เพื่อใช้ในการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจเกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน
ผู้บริหารระดับล่าง เพื่อใช้ในการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจเกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน
3. ระดับที่สาม (Management Control) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับ
ผู้บริหารระดับกลาง ใช้ในการจัดการและวางแผนงานระยะสั้น ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี หรือแผนยุทธวิธีให้
ดำเนินไปตามแผนระยะสั้นนั้นได้
ผู้บริหารระดับกลาง ใช้ในการจัดการและวางแผนงานระยะสั้น ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี หรือแผนยุทธวิธีให้
ดำเนินไปตามแผนระยะสั้นนั้นได้
4. ระดับที่สี่ หรือ (Strategic Planing)หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับ
ผู้บริหารระดับสูง สำหรับใช้วางแผนระยะยาวหรือแผนกลยุทธ์
ผู้บริหารระดับสูง สำหรับใช้วางแผนระยะยาวหรือแผนกลยุทธ์
การจัดโครงสร้างทั้งสี่ระดับนี้ไม่ได้หมายความว่า การใช้สารสนเทศแยกกันโดยเด็ดขาด แต่เป็นการแบ่งเพื่อความสะดวกในการพิจารณาว่า ผู้บริหารแต่ละระดับมีความต้องการข้อมูลที่ต่างกัน ในแต่ระดับอาจต้องการสารสนเทศที่จัดเตรียมขึ้นจากระดับที่ต่ำกว่า หรือบางครั้งอาจต้องใช้ข้อมูล
ใหม่ ๆ ด้วยเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น